TooMM
วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555
นกตบยุงป่าโคก
Caprimulgus affinis (Savanna Nightjar)
เป็น1 ใน 6 ชนิดของนกตบยุงที่พบได้ในประเทศไทย จาก 6 ชนิดนี้ มี 4 ชนิดอยู่ในสกุลนกตบยุงเล็ก
นกตบยุงหางยาว( Large-tailed Nightjar)
นกตบยุงภูเขา ( Grey Nightjar)
นกตบยุงเล็ก( Indian Nightjar)
นกตบยุงป่าโคก(Savanna Nightjar)
ตัวนกตบยุงป่าโคกเองก็มีหลายชนิดย่อย อาศัยกระจัดกระจายในหลายท้องที่ในเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดย่อยเดียวคือ C.A.monticolus โดยชื่อย่อยนี้มาจากรากศัพท์ภาษาละติน คือ mont หรือ montis แปลว่าภูเขา col แปลว่าอาศัย จึงมีความหมายว่านกที่อาศัยอยู่บนภูเขา
ลักษณะร่วมของนกตบยุงคือมีปากเล็กแบน ช่องปากกว้าง รูจมูกเป็นหลอดเล็กน้อย
บริเวณมุมปากมีขนยาวหลายๆเส้นเรียงกัน ไม่สร้างรัง
วางไข่บนพื้นดินครอกละ 1-2 ฟอง เปลือกไข่อาจมี หรือไม่มีลวดลายใดๆ
ขนลายๆที่ปกคลุมร่างกายมีสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาล ดำ เทา ขาว เป็นหลัก
นกในวงศ์นี้กำเนิดมาตั้งแต่สมัย พลิสโตซีน ในยุคควอเตอร์นารี่ หรือประมาณ 1 ล้านปีมาแล้ว ปัจจุบันมีการกระจายพันธุ์เกือบทั่วโลกยกเว้นนิวซีแลนด์และฮาวาย
นกตบยุงป่าโคกมีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 25 เซ็นติเมตร
เฉพาะความยาวหางประมาณ 11.1-11.7 เซ็นติเมตร
มีจุดเด่นที่ทำให้แยกออกจากนกตบยุงชนิดอื่นๆได้อย่างชัดเจนคือ
ในตัวผู้จะมีขนหางคู่นอกสุดเป็นสีขาวเกือบตลอดทั้งเส้น โดยมักเป็นสีเทาบริเวณปลาย
นกตัวเมียไม่มีสีขาวที่ขนหางด้านนอก สีเข้มกว่านกตัวผู้ และบริเวณปีกมีลายสีน้ำตาลเหลืองถึงสีเนื้อเด่นชัดกว่า
รูป : บึงบรเพ็ด 22/1/2555
นกอ้ายงั่ว
วงศ์ANHINGIDAE Anhinga melanogaster Pennant, 1769
ลักษณะ : นกน้ำลำตัวมีสีดำลักษณะคล้ายนกกาน้ำ ขนาดลำตัวยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ลำคอยาวเรียว ดูคล้ายงู หัวยาวมีจะงอยปากรูปคล้ายมีดปลายแหลมบนแผ่นหลังและปีกมีลายขีดและแต้มสีเทาออกขาวใต้คางและคอสีขาวยังมีแถบ
เรียบสีขาวจากบริเวณด้านหลังตาพาดลงมาประมาณครึ่งหนี่งของความยาวส่วนคอ หางยาวเป็นขนแข็งเรียงกันเป็นรูปพัด ขาและเท้าสีดำนกอายุน้อยลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้มและใต้ท้องสีน้ำตาลอ่อนหัวและคอสีออกขาวและบนแผ่นหลังมีลายสีน้ำตาล อ่อนหรือสีเทาพาดโดยตลอด
อุปนิสัย:ชอบเกาะตามกิ่งไม้ที่ทอดยาวยื่นเข้ามาเหนือผืนน้ำหรือยืนกางปีกตากแดดอยู่ตามริมฝั่งเวลาหากินนกจะว่ายน้ำ
โดยลำตัวทั้งหมดจมอยู่ใต้น้ำมีเพียงส่วนหัวและลำคอที่ชูขึ้นมาเหนือน้ำฤดูวางไข่เริ่มในเดือนสิงหาคมรังมีขนาดใหญ่ทำด้วย กิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง วางไข่ครั้งละ 1-4 ฟอง
ที่อยู่อาศัย:นกอ้ายงั่วเป็นนกประจำถิ่นที่มีการเคลื่อนย้ายไปตามสภาพของแหล่งน้ำเคยมีชุกชุมตามบึงหนองและแม่น้ำ
ใหญ่ๆ ที่มีแนวป่าอยู่รอบ
เขตแพร่กระจาย : พบแพร่กระจายตั้งแต่อินเดีย ตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ และซุลาเวสสี
สถานภาพ:เมื่อประมาณ40ปีมาแล้วเคยพบนกอ้ายงั่วจำนวนหนึ่งทำรังวางไข่บนยอดต้นสนทะเลในบริเวณถนนวิทยุใน กรุงเทพมหานครฯในปัจจุบันพบในบริเวณวัดตาลเอน จังหวัดพระนครศรีอยูธยาและที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี นกอ้ายงั่วจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1
ภาพ : บึงบรเพ็ด 21 กุมภาพันธ์ 2555
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)